EMAIL

smilefeetclub@gmail.com

Call Now

(095) 440 7448

อาการหมอนรองกระดูกเสื่อม

  • Home
  • อาการหมอนรองกระดูกเสื่อม

อาการหมอนรองกระดูกเสื่อม

ประเภท : สุขภาพ

2017-03-16

เข้าชม 7246

อาการปวด ปวดชาที่สะโพก ร้าวลงขา ฝ่าเท้า นิ้วเท้า บางทีจะปวดมากจนเดินไม่ไหวเดินได้ไม่กี่ก้าวก็จะปวดลงขา เหมือนขาไม่มีแรง อาการที่แสดงว่าหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมที่เห็นเด่นชัดคือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณเอว ลักษณะอาการปวดจะตื้อๆ ระดับเข็มขัดอาจร้าวลงมาที่บริเวณกล้ามเนื้อด้านข้าง ซึ่งอาการปวดจะมีส่วนสัมพันธ์กับการใช้งาน เช่น มีอาการปวดเมื่อนั่งนาน ขับรถนาน ยืนนาน หรือเดินนาน บางรายอาจนั่งได้เพียง 10-15 นาทีก็จะมีอาการ แต่เมื่อนอนพักอาการปวดจะทุเลาลง ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการกดทับเส้นประสาทมากจะมีอาการปวดร้าวลงขา บางรายมีอาการชาและอ่อนแรงของขาหรือเท้าตามเส้นประสาทส่วนที่ถูกกดทับ



รายละเอียด

อาการหมอนรองกระดูกเอวเสื่อม...

    อาการปวด ปวดชาที่สะโพก ร้าวลงขา ฝ่าเท้า นิ้วเท้า บางทีจะปวดมากจนเดินไม่ไหวเดินได้ไม่กี่ก้าวก็จะปวดลงขา เหมือนขาไม่มีแรง

    อาการที่แสดงว่าหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมที่เห็นเด่นชัดคือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณเอว ลักษณะอาการปวดจะตื้อๆ ระดับเข็มขัดอาจร้าวลงมาที่บริเวณกล้ามเนื้อด้านข้าง ซึ่งอาการปวดจะมีส่วนสัมพันธ์กับการใช้งาน เช่น มีอาการปวดเมื่อนั่งนาน ขับรถนาน ยืนนาน หรือเดินนาน บางรายอาจนั่งได้เพียง 10-15 นาทีก็จะมีอาการ แต่เมื่อนอนพักอาการปวดจะทุเลาลง ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการกดทับเส้นประสาทมากจะมีอาการปวดร้าวลงขา บางรายมีอาการชาและอ่อนแรงของขาหรือเท้าตามเส้นประสาทส่วนที่ถูกกดทับ

และถ้าไปทับเส้นประสาทที่เลี้ยงลำใส้กับทวารหนัก การย่อย การดูดซึม ลดลงทำให้ อาหารไม่ย่อย ท้องอืดง่าย ท้องผูกและ ขับถ่ายลำบาก ไขมัน เนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก จะดูดซึมเข้าตามร่างกาย

    ทำให้ นน.ขึ้นเร็ว ลดยากถึงทานน้อยน้ำหนักก็ไม่ลง ไขมันจะดูดเข้าไปสะสมตามผนังหลอดเลือด ทำให้ เป็นความดันสูง และไขมันในเส้นเลือด สูง เส้นเลือดตีบ ตามมา

    ถ้าหมอนข้อที่ 3 ทับเส้นประสาท(ซึ่งไปเลี้ยงกระเพาะปัสสาวะและอวัยวะเพศ) มีผลให้ปัสสาวะ บ่อยหรือ ลำบาก และอาจเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ


พฤติกรรมเสี่ยง

1. ก้มๆ เงยๆ บ่อยๆ หรือมากเกินไป

2. ยกของหนักซ้ำๆ ท่าเดิมๆ

3. ผู้ที่มีอาชีพที่ต้องทำงานอยู่ในบริเวณที่มีการสั่นสะเทือนบ่อยๆ เช่น เขตก่อสร้าง

4. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก และต้องเดินบ่อยๆ เดินตลอดเวลา รับแรงกระแทกจากการเดิน วันละหลายๆ ชั่วโมง

5. อยู่ท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานเกินไป โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ผู้ที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป หรือทำงานที่ต้องนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ


วิธีป้องกัน

1. ไม่ยกของหนัก หรือยกของท่าเดิมๆ มากเกินไป

2. ควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถในการทำงานทุกๆ 2-3 ชั่วโมง

3. หมั่นออกกำลังกาย ทำการบริหารเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหลัง