EMAIL

smilefeetclub@gmail.com

Call Now

(095) 440 7448

ปวดเท้าด้านหลังบ่อย ๆ เอ็นร้อยหวายอักเสบ

  • Home
  • ปวดเท้าด้านหลังบ่อย ๆ เอ็นร้อยหวายอักเสบ

ปวดเท้าด้านหลังบ่อย ๆ เอ็นร้อยหวายอักเสบ

ประเภท : กิจกรรม

2017-03-16

เข้าชม 10881

เส้นเอ็นร้อยหวายขาด Achilles tendon ruptures พบบ่อยในผู้ชาย อายุ 30 – 50 ปี โดยที่ไม่เคยมีปัญหาของเอ็นร้อยหวายมาก่อน อาจพบในผู้สูงอายุ ผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะ ยาสเตอรอยด์ ฉีดยาสเตอรอยด์ที่เอ็นร้อยหวาย ผู้ที่ออกกำลังกายมากเกินไปทันทีทันใด ผู้ป่วยโรคเบาหวาน รูมาทอยด์ เกาต์ หรือ เกิดอุบัติเหตุ ตำแหน่งที่ขาด จะอยู่สูงกว่า กระดูกส้นเท้า 2 – 6 ซม. เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่มีเลือดมาเลี้ยงน้อยที่สุด



รายละเอียด

    เส้นเอ็นร้อยหวายขาด Achilles tendon ruptures


พบบ่อยในผู้ชาย อายุ 30 – 50 ปี โดยที่ไม่เคยมีปัญหาของเอ็นร้อยหวายมาก่อน

อาจพบในผู้สูงอายุ ผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะ ยาสเตอรอยด์ ฉีดยาสเตอรอยด์ที่เอ็นร้อยหวาย ผู้ที่ออกกำลังกายมากเกินไปทันทีทันใด ผู้ป่วยโรคเบาหวาน รูมาทอยด์ เกาต์ หรือ เกิดอุบัติเหตุ

ตำแหน่งที่ขาด จะอยู่สูงกว่า กระดูกส้นเท้า 2 – 6 ซม. เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่มีเลือดมาเลี้ยงน้อยที่สุด


>>อาการและอาการแสดง<<

 

รู้สึกลั่น และ ปวดมากทันทีทันใด (คล้ายถูกเตะ หรือ ถูกยิง) ที่เอ็นร้อยหวาย ด้านหลังข้อเท้า

ยืนเขย่งปลายเท้า (ยกส้นเท้าขึ้น) ไม่ได้ ขึ้นบันไดลำบาก เดินกะเผลก

ปวดบวมที่เอ็นร้อยหวาย และน่อง อาจคลำได้ รอยบุ๋ม (ช่องว่าง)ที่เส้นเอ็น

ส่วนใหญ่ แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ โดยไม่ต้องเอกซเรย์ มีผู้ป่วยส่วนน้อยที่ อาจต้องตรวจ อัลตร้าซาวน์เส้นเอ็น หรือ เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI )

 

>>แนวทางรักษา<<

 

1. ไม่ผ่าตัด เช่น ยาบรรเทาอาการ ใส่เฝือก ( 6 - 8 อาทิตย์) จะต้องเปลี่ยนเฝือกให้ปลายเท้ากระดกขึ้น เป็นระยะ(ทุก 2 อาทิตย์) เมื่อถอดเฝือกแล้วต้องทำกายภาพบำบัดต่ออีก 4-6 เดือน

โดยทั่วไป จะใช้ในผู้สูงอายุ ที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมนอกบ้าน อยู่กับบ้าน ทำงานบ้าน หรือในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการผ่าตัด เช่น เป็นโรคหัวใจ เบาหวาน เป็นต้น


ข้อดี ไม่ต้องเสี่ยงกับการผ่าตัด การให้ยาดมยาสลบหรือบล็อกหลัง ประหยัดค่าใช้จ่าย

ข้อเสีย เส้นเอ็นแข็งแรงน้อยลง มีโอกาสเกิดเส้นเอ็นขาดซ้ำสูง ( 40 %)

 

2. ผ่าตัด

โดยทั่วไป จะแนะนำให้ผ่าตัดในคนหนุ่มสาว กลุ่มนักกีฬา มีช่องว่างระหว่างเส้นเอ็นที่ขาดมากกว่า 5 ซม.

หลังผ่าตัด ก็จะต้องใส่เฝือก ( 6 - 8 อาทิตย์) เปลี่ยนเฝือกให้ปลายเท้ากระดกขึ้น เป็นระยะ(ทุก 2 อาทิตย์) เมื่อถอดเฝือกแล้วต้องทำกายภาพบำบัดต่ออีก 4-6 เดือน


ข้อดี ความแข็งแรงของเส้นเอ็นใกล้เคียงปกติ โอกาสเกิดเส้นเอ็นขาดซ้ำต่ำ (5 %)

ข้อเสีย แผลติดเชื้อ (1-2 %) เส้นประสาทบาดเจ็บ (1-2 %)